“อลงกรณ์”เร่งจบงานเนชั่นแนลซิงเกิลวินโดว์(NSW)และดิจิตอล ทรานสฟอร์เมชั่น(Digital Transformation)ภายใต้5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัยภายในปีนี้
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC)เปิดเผยวันนี้(22มี.ค.)ภายหลังเป็นประธานการประชุมผ่านระบบประชุมทางไกล พร้อมด้วย นายประภาส ทองยงค์ รองปลัดกระทรวงเกษตร นายวุฒิพงศ์ เนียมหอม รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รศ.ดร.ธานี ศรีวงศ์ชัย คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผศ.รุ่งอรุณ ดอนจันทร์ทอง ผู้อำนวยการสถาบันบัวราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกวิทยาเขตบางพระ นายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย รศ.ดร. อาณัฐชัย รัตตกุล ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ศูนย์ AIC และภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจากทั่วประเทศกว่า400คน เข้าร่วมประชุมเมื่อวานนี้เพื่อรับทราบความก้าวหน้าของผลการขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้าน Big Data และ Gov Tech ด้านเกษตรอัจฉริยะ ด้าน E-Commerce ด้านธุรกิจเกษตร (Agribusiness) และผลการดำเนินงานศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC)
โดยนายอลงกรณ์กล่าวว่า ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการดำเนินงานการกระจายสินค้าเกษตรผ่านช่องทางไปรษณีย์ และโครงการ Thailand E-Commerce ผลการดำเนินงานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน ด้าน Big Data และ Gov Tech ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย 1) ความก้าวหน้าการดำเนินงานเชื่อมโยงข้อมูลศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ(NABC:National Agriculture Big Data Center)ภายใต้ MOU ระหว่างสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรและสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ 2) ผลการดำเนินงานการจัดทำและให้บริการภาครัฐของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ National Single Window (NSW) มีบริการที่เชื่อมโยง NSW จำนวน 55 บริการ ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 38 บริการ ให้บริการแล้วและอยู่ระหว่างการปรับปรุง/เพิ่มประสิทธิภาพระบบ จำนวน 17 บริการ และ 3) ผลการดำเนินงานการจัดทำฐานข้อมูลขนาดใหญ่ด้านการเกษตรซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปการบริหารราชการแผ่นดินและการบริการประชาชนตามแนวทางDigital Transformation
โดยนายอลงกรณ์ ได้แจ้งฝ่ายเลขาฯ ให้กำหนดจัดการประชุมเป็นการเฉพาะในต้นเดือนหน้า (เม.ย.) โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งรัดการดำเนินงานการจัดทำและให้บริการภาครัฐของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ National Single Window (NSW) ในการวิเคราะห์ ประเด็นเสนอของภาคเอกชน ในการเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อการบริการในเว็บไซต์ที่ออกแบบให้สามารถเข้าถึงการบริการในเว็บเดียวกัน พร้อมทั้งจัดทำ time line กรอบรระยะเวลาการดำเนินการ
ในการนี้ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ได้รายงานผลการดำเนินงาน และนำเสนอโครงการส่งเสริมและพัฒนาต้นแบบเกษตรอัจฉริยะ กิจกรรมส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ “ระบบบริหารจัดการแปลงเกษตรด้วยระบบเกษตรอัจฉริยะ Handy Sense และการขับเคลื่อน ศพก.เกษตรอัจฉริยะ การพัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) สู่การทำการเกษตรแบบเกษตรอัจฉริยะ และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร (Agribusiness) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานการนำเสนอพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา พ.ศ. 2560 “ระบบเกษตรพันธสัญญา” และปัญหาราคาสุกรหน้าฟาร์มต่ำกว่าท้องตลาด และการเสนอผลการบริหารจัดการงานวิจัยทางการเกษตร ของศูนย์วิจัยข้าวโพดและข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ)
คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศ (COE) บัว ของสถาบันบัวราชมงคลตะวันออก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ โดยที่ประชุมเสนอให้มีการนำผลงานเข้าร่วมแสดงในงานมหกรรมพืชสวนโลก ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในปี 2569 เพื่อแสดงศักยภาพด้านบัวของประเทศไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สากลซึ่งมีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออกเป็นศูนย์AICประเภทความเป็นเลิศCOEด้านบัว -ราชินีแห่งพืชน้ำ อีกทั้ง ความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานคัดเลือกรางวัล AIC Award ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างประกาศเปิดรับสมัครผลงานเข้าร่วมประกวดคัดเลือกรางวัล AIC Award 2022 และความก้าวหน้าการดำเนินงานระบบฐานข้อมูล AIC (Innovation Catalog) ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน Innovation Catalog รวมทั้งสิ้น 701 เทคโนโลยี/นวัตกรรม 11 ประเภท การนำไปใช้และการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก AIC ผ่าน ศพก. สู่เกษตรกรจำนวน 8,709 ราย ศพก. 56 แห่ง จากทั้งสิ้น 882 แห่ง และขยายผลสู่เกษตรแปลงใหญ่ จำนวน 6 จังหวัด รวม 9 แปลงใหญ่
ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้มอบแนวทางให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ให้มุ่งเน้นการทำงานที่เชื่อมโยงทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นการนำข้อมูล Big Data ด้านการเกษตร การบริหารจัดการด้านเกษตรอัจฉริยะ การดำเนินงานด้านการส่งเสริมตลาด E-Commerce และด้านสนับสนุนผลักดันสินค้าสู่ธุรกิจเกษตร (Agribusiness) และการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่าง ๆ ของ ศูนย์ AIC และ COE ผนวกเข้าด้วยกัน เพื่อก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดและเกิดการเปลี่ยนแปลงเพื่อขับเคลื่อนในระดับพื้นที่สู่ภาคเกษตรที่ยั่งยืนต่อไป
“การขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0ภายใต้5ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตรของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ.มีความคืบหน้าเป็นที่น่าพอใจเพื่อยกระดับอัพเกรดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและการเพิ่มรายได้ให้กับภาคเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณต่า(Value Chain)ด้วยการบริหารจัดการเชิงโครงสร้างและระบบแบบบูรณาการทำงานเชิงรุกกับทุกภาคส่วนทุกจังหวัดทั่วประเทศ เราจะต้องจบงานเนชั่นแนลซิงเกิลวินโดว์(NSW)และดิจิตอล ทรานสฟอร์เมชั่น(Digital Transformation)ภายใต้5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัยภายในปีนี้”นายอลงกรณ์กล่าวในที่สุด.