“มองจีนจากโอลิมปิกฤดูหนาว”
วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2022 เป็นวันเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิตามปฏิทินจีน ซึ่งเป็นการเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิอันสดใส ในวันนี้ โอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่งได้เปิดฉากขึ้นตามกำหนด นำความหวังแห่งฤดูใบไม้ผลิมาสู่ผู้คนในทุกประเทศภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด19 อันเป็นการส่งพลังบวกให้คนทั่วโลก ให้ “ก้าวสู่อนาคดร่วมกัน” ทำให้ประเทศจีนกลายเป็นจุดสนใจของผู้คนทั่วโลกอีกครั้ง
โลกได้เห็นประเทศจีนที่ยึดถือประชาชนเป็นสำคัญ โอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่งได้ยึดมั่นในหลักการ “เน้นนักกีฬาเป็นศูนย์กลาง” โดยได้เตรียมอาหารเกือบ 700 รายการจากทั่วโลก ที่พักที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และการพักผ่อนที่หลากหลายไว้สำหรับนักกีฬา เพื่อส่งเสริมให้นักกีฬาสามารถสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมที่สุด นายซามารันช์ ฮวน อันโตนิโอ จูเนียร์ สมาชิกคณะกรรมการโอลิมปิกสากลกล่าวชื่นชมว่า “นี่คือหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิกทั้งฤดูหนาวและฤดูร้อนที่ดีที่สุดเท่าที่ข้าพเจ้าเคยเห็นมา” ขณะเดียวกัน นับตั้งแต่จีนประสบความสำเร็จในการขอเป็นเจ้าภาพจัดกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวเมื่อปี 2015 ทำให้มีผู้คนราว 346 ล้านคนในประเทศจีนมีส่วนร่วมในกีฬาฤดูหนาว อันเป็นการยกระดับสุขภาพอนามัยของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศจีนยังได้ปรับปรุงพื้นที่ยากจนให้เป็นกีฬาสถานในฤดูหนาว ส่งเสริมให้พื้นที่ห่างไกลบนภูเขาหลายแห่งหลุดพ้นจากความยากจน
โลกได้เห็นประเทศจีนที่ให้ความสำคัญกับการรักษาคำมั่นสัญญาและความยุติธรรม
นับตั้งแต่ปักกิ่งประสบความสำเร็จในการขอเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวเมื่อปี 2015 ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้เน้นย้ำเสมอเกี่ยวกับ “การปฏิบัติตามทุกข้อผูกพันอย่างเต็มที่” และจีนก็ได้ดำเนินการเช่นนั้น โอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่งเป็นมหกรรมกีฬาระดับโลกรายการแรกที่จัดขึ้นตามกำหนดเดิมนับตั้งแต่เกิดการระบาดของโควิด-19 โดยได้ยึดถือหลักการ “สีเขียว แบ่งปัน เปิดกว้าง และใสสะอาด” บรรลุคำมั่นสัญญาในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่เรียบง่าย ปลอดภัย และน่าตื่นเต้น นายโทมัส บัค ประธานคณะกรรมการโอลิมปิกสากลยังได้มอบถ้วยรางวัลโอลิมปิกแก่ชาวจีนเพื่อแสดงความขอบคุณต่อชาวจีนที่ช่วยกันสนับสนุนการจัดมหกรรมกีฬาในครั้งนี้
โลกได้เห็นจีนในแง่นวัตกรรมทางเทคโนโลยี โอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่งดำเนินการตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติอย่างแข็งขัน มีการใช้เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอย่างกว้างขวาง ลดการปล่อยคาร์บอน และพลังงานไฟฟ้าทั่วไปที่ใช้ในระหว่างการแข่งขันล้วนได้มาจากพลังงานหมุนเวียนทั้งสิ้น ช่อดอกไม้ที่มอบให้กับผู้ได้รับรางวัลก็ใช้เทคนิคการถักไหมแบบดั้งเดิมซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อีกทั้งได้จัดให้มีหุ่นยนต์ทำหน้าที่ในการป้องกันโรค จัดส่งอาหาร และการขนส่ง ฯลฯ ทั้งในและนอกสนามกีฬา เพื่อสร้างความสะดวกสบายและความปลอยภัยในการแข่งขัน มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการผลิตและออกอากาศด้วยระบบ 4k ที่มีความคมชัดสูงและใช้กล้องความเร็วสูงในการถ่ายภาพ ทำให้ผู้ชมจากทั่วโลกได้สัมผัสประสบการณ์ที่สมจริง ซึ่งเป็นบันทึกหน้าใหม่ในประวัติศาสตร์การถ่ายทอดกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว
ความสำเร็จในการจัดกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวไม่สามารถแยกออกจากการสนับสนุนจากทุกประเทศในโลกได้ โอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่งจัดขึ้นในโอกาสครบรอบ 20 ปีของการเข้าร่วมโอลิมปิกฤดูหนาวของไทย ซึ่งสะท้อนถึงมิตรภาพที่ดีของคำว่า “จีนไทยพี่น้องกัน” สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่ปักกิ่งเมื่อปี 2008 เสด็จเข้าร่วมพิธีเปิดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่งเช่นกัน ดังนั้น พระองค์ทรงเป็นสักขีพยานที่กรุงปักกิ่งกลายเป็นเมืองแรกของโลกที่ได้จัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกทั้งสองรายการ คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล กรรมการบริหารคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนายวาริน เตรศุภศิริ รองประธานคณะกรรมการโอลิมปิกไทย ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องคนอื่นๆ ต่างกล่าวชื่นชมการจัดกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่งและให้การสนับสนุนจีนอย่างเข้มแข็ง ประเทศไทยส่งนักกีฬา 4 คนเข้าร่วมการแข่งขันสกีครอสคันทรีและสกีอัลไพน์ และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของมหกรรมกีฬาอันยิ่งใหญ่พร้อมๆ กับนักกีฬาจากทั่วทุกมุมโลก
แม้กีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวที่ปักกิ่งได้ปิดฉากลงแล้ว แต่จิตวิญญาณโอลิมปิกที่เรียกว่า “ยิ่งเร็ว ยิ่งสูง ยิ่งแกร่ง และยิ่งสามัคคี” นั้นกำลังขยายตัวกว้างมากขึ้น จากคอนเซ็ปต์โอลิมปิกฤดูหนาวปักกิ่งที่ว่าสู่อนาคตร่วมกัน ( “Together for a Shared Future” ) สู่เหรียญโอลิมปิกที่ชื่อว่า “Tong Xin” ซึ่งหมายถึง รวมกันเป็นหนึ่ง แนวคิดจีนเกี่ยวกับชุมชนแห่งโชคชะตาร่วมของมวลมนุษย์ได้สะท้อนกันและกันกับจิตวิญญาณของโอลิมปิก สามารถอธิบายถึงวิสัยทัศน์ใหม่สำหรับความร่วมมือระดับโลก และพรรณนาถึงพิมพ์เขียวใหม่สำหรับการพัฒนาร่วมกันของโลกในอนาคต
นายปรีชรา สถิตย์เรืองศักดิ์ / หาดใหญ่ จ.สงขลา