สระบุรี – ศอ.4สระบุรี แจ้ง”แนวทางการจัดการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิดสำหรับคอนโดมีเนียมหรือหอพัก กรณีมีผู้ติดเชื้อโควิดพักรักษาตัว(HOME ISOLAION,HI)
วันที่ 26 มกราคม 2565 ศูนย์อนามัยที่4สระบุรี แจ้งข้อมูลของคณะทำงานกรมอนามัยถึงแนวทางการจัดการเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิดสำหรับคอนโดมีเนียมหรือหอพัก กรณีมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 พักรักษาตัว(HOME ISOLAION,HI)
ด้วยสภาพแวดล้อมของชุมชนเมือง ส่วนใหญ่มีพื้นที่ค่อน
ข้างจำกัด ทำให้ผู้คนจำนวนมากพักอาศัยในรูปแบบของ
คอน โดมิเนียม หรือ หอพัก ซึ่งการอยู่อาศัยในรูปแบบดังกล่าว
นอกจากผู้พักอาศัยที่เป็นเจ้าบ้านแล้ว ยังมีนิติบุคคลของคอนโด
หรือ เจ้าของหอพัก ที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเรื่องต่างๆ รวมถึงการแจ้งข่าว ประสานงาน ซึ่งข้อมูลที่ได้ก็นับว่าสำคัญและมีประโยชน์ต่อ
ลูกบ้านอย่างมาก จะช่วยให้ป้องกันหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม ซึ่งในสถานการณ์โรคระบาด โควิดก็เช่นกัน ดังนั้นเพื่อให้สมาชิก
สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปลอดภัย ไม่รังเกียจ หรือ ตื่นตระหนกจนเกิดไป
และ สามารถให้ความช่วยเหลือกันได้ตามสมควร กรมอนามัยมีข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับการอยู่ร่วมกัน โดยแบ่งเป็น
สำหรับ นิติบุคคล/เจ้าของหอพัก สำหรับผู้ติดเชื้อ และ สำหรับผู้อยู่อาศัยร่วมสรุปขั้นตอนการดำเนินการเมื่อมีผู้ติดเชื้อ โควิดในคอนโด หรือหอพัก
1. หากนิติบุคคลทราบพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ ต้องรีบแจ้ง ท่านอื่นๆ
ให้รับทราบทันที
2. นิติบุคคลจะต้องตรวจเช็ค Timeline ของผู้ป่วย และแจ้งผลให้ลูกบ้านท่านอื่นทราบโดยเร็ว
3. นิติบุคคลต้องบริหารจัดการความเสี่ยงของพื้นที่ในจุดต่างๆของคอนโด และเข้มงวดเรื่อง Social Distancing ให้ม่ากขึ้น 4.ควรรีบประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ในคอนโดโดยเร็วที่สุด
5. สมาชิกไม่ต้องตื่นตระหนก ให้รักษาระยะห่าง ล้างมือให้บ่อยขึ้น
และงดใช้ส่วนกลางในช่วงนี้ พร้อมเช็คความเสี่ยงตัวเองจาก
ประวัติการใช้พื้นที่ร่วมของผู้ติดเชื้อ ( Time line )
6. ติดตามอาการป่วยของลูกบ้านสม่ำเสมอ และ จัดการสิ่ง
สนับสนุนให้สามารถดำเนินการรักษาได้อย่างเหมาะสมคำ
คำแนะนำสำหรับนิติบุคคล/เจ้าของหอพัก
1 . สร้างระบบรายงานหรือช่องทางการสื่อสารที่ชัดเจน เพื่อให้ลูกบ้านที่ตรวจพบเชื้อโควิดสามารถแจ้งข่าวได้ทันที ควรเป็นช่องทางออนไลน์ เช่น LINE กลุ่มคอนโด หรือโทรศัพท์เพื่อความรวดเร็ว และ ลดการออกนอกห้องของผู้ติดเชื้อ 2. เมื่อพบมีลูกบ้านติดเชื้อ ให้ตรวจเช็ค Timeline ของผู้ป่วยย้อนหลัง 3-5 วัน นับจากวันที่ทราบว่าติดเชื้อ และแจ้งผลให้ลูกบ้าน
ท่านอื่นทราบโดยเร็ว โดยควรจัดทำ Timeline ของผู้ป่วยเผยแพร่ เพื่อให้ลูกบ้านคนอื่นๆ สามารถตรวจสอบได้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ที่จะมีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 จากผู้ป่วยด้วยหรือ
ไม่ 3.ควรทำความสะอาดพื้นที่ต่างๆ ภายหลังทราบว่าลูกบ้านติดเชื้อตาม Time Line ของผู้ติดเชื้อภายใน 24 ชม.โดยเฉพาะตามพื้นผิวสัมผัสต่างๆ ได้แก่ ปุ่มกดลิฟท์ , ราวบันได รวมถึง พื้นที่ส่วนร่วมอื่นๆ เช่น ห้องฟิตเนส , ห้องรับแขกรวม โดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพ (ตามเอกสารประกอบ) และอาจปิดพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำความสะอาด 48-72 ชม.
4. ให้การสนับสนุนลูกบ้านที่ติดเชื้อในการรักษาตัวที่บ้าน ( Home
isolation ) ดังนี้
1. สอบถามอาการ และ ความกังวลใจของลูกบ้านอย่าง
สม่ำเสมอ 2.จัดการเรื่องยา และ อุปกรณ์การแพทย์อื่นๆที่จำเป็น 3.จัดการอาหาร เครื่องดื่ม หรือ มีช่องทางรับ – ส่งอาหาร
4.จัดการขยะและขยะติดเชื้อ (แนะนำให้ใส่ถุงแดง หรือ ถุง
อื่นๆที่มัดแน่น หรือ ทำสัญลักษณ์ว่าเป็นขยะติดเชื้อ) โดย
ทำตารางเวลาจัดเก็บให้ชัดเจน และ ให้ผู้จัดเก็บแต่งกาย
ให้มิดชิด ใส่หน้ากากอนามัย และ ถุงมืออย่างเคร่งครัด
5. อำนวยความสะดวกในการเดินทางหากมีความจำเป็นต้องไปพบแพทย์
5. สร้งความมั่นใจให้สมาชิกท่านอื่นให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เน้นย้ำการดำเนินชีวิตปกติวิถีใหม่ตามแนวทาง UP-
DMHTT และ
สร้างความเข้าใจของการอยู่ร่วมกันของผู้ติดเชื้อในคอนโด คำแนะนำสำหรับผู้ติดเชื้อ ” เทคนิคแยกตัวอย่างไม่โดดเดียว ” การรักษาตัวอยู่ที่บ้านสำหรับผู้ติดเชื้อโควิด สามารถทำได้ มีความปลอดภัย สามารถปฏิบัติได้
โดยเฉพาะผู้ที่ตรวจพบเชื้อ แล้วไม่มีอาการ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.ประสาน 1330 เพื่อรอรับการประเมิน และ เข้าสู่ระบบการ
ดูแลที่บ้าน ( Home Isolation, HI ) 2.แจ้งนิติบุคคล หรือ ผู้จัดการหอพักทราบทันทีเมื่อพบว่าตัวเอง
มีผลติดเชื้อจากการตรวจ และ แจ้ง Timeline ย้อนหลัง 3 วันประกอบด้วย ช่วงเวลา และ พื้นที่ส่วนรวมในคอนโด / หอพัก 3.กรณีมีผู้อยู่อาศัยร่วมด้วย
ให้รีบแจ้งข้อมูลเพื่อให้ดำเนินการ
แยกตัว และ ตรวจหาเชื้อโควิด 4.ประสานหน่วยงานต้นสังกัด หรือ สถานที่ทำงานประจำ เพื่อ
แจ้งข้อมูลการติดเชื้อ , Timeline และ ขอปฏิบัติงานในรูปแบบ
(Work from home ,WFH )
5. ตรวจเช็คความพร้อมตนเองในการแยกรักษาตัวที่บ้าน และงดออกจากห้องพัก เพื่อขอรับการสนับสนุนจากนิติบุคคล ได้แก่
อาหาร น้ำดื่ม การจัดการขยะ การทำความสะอาดเครื่องนุ่งห่มการเดินทางเมื่อจำเป็น 6.หมั่นสังเกตอาการตนเอง
วัดอุณหภูมิทุกวัน หากมีอาการแย่ลง คือ มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้ เช่น หอบ เหนื่อย ไข้สูงลอย ไม่สามารถปฏิบัติกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ ให้รีบ โทรติดต่อโรงพยาบาลที่ทำนรักษาอยู่รักษาสุขภาพใจให้แข็งแรง ด้วยการสื่อสารกับ ครอบครัว
เพื่อน อย่างสม่ำเสมอ และหากิจกรรมสันทนาการ เพื่อลด
ความเครียด 8.หากจำเป็นต้องพบผู้อื่นควรสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่
พบ และต้องเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร 9.ทิ้งขยะที่สัมผัสสารคัดหลั่ง เช่น หน้ากากอนามัย กระดาษ
ชำระ ในถุงขยะสีแดง และปิดปากถุงให้แน่น (กรณีไม่มีถุงขยะสี
แดงให้เขียนกำกับบนถุงให้ชัดเจนว่า “ขยะติดเชื้อ”แล้วแยก
ทิ้งในถังขยะติดเชื้อ กรณีเป็นขยะที่ไม่สัมผัสสารคัดหลั่ง ให้เช็ดหรือราดด้วยแอลกอฮอล์ 70% แล้วทิ้งเป็นขยะทั่วไปได้ 10. เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว หากไม่สามารถทำความสะอาดได้ ควรแยกใส่ถุงแล้วมัดเก็บแยกไว้รอทำความสะอาดภายหลังออกจากการแยกตัว
กรณีมีความจำเป็นต้องอยู่ร่วมกันในห้องของผู้ติดเชื้อ และ ผู้ไม่
ติดเชื้อ มีเทคนิคการจัดห้องให้ลดความเสี่ยงดังนี้ 1.พยายามแบ่งพื้นที่ในห้องให้ชัดเจนที่สุด ก็คือแบ่งออกเป็น 3 สี สีแดง พื้นที่เฉพาะผู้ป่วยติดเชื้อ ซึ่งต้องอยู่ในพื้นที่ตรงนี้ตลอด 24 ชม. ยกเว้นต้องเข้าห้องน้ำ
สีเขียว พื้นที่สะอาดสำหรับผู้ที่อาศัยร่วมกัน( ไม่ติดเชื้อ )
สีส้ม พื้นที่ที่ใช้ร่วมกัน(มีความเสี่ยง)
2.เว้นระยะห่างให้มากที่สุด และนำเฟอร์นิเจอร์ที่อยู่ในห้อง เช่น ตู้เสื้อผ้า ชั้นวาง กั้นไว้ะหว่างสีแดงกับสีเขียว ถ้าไม่มีสามารถปรับโดยใช้ รางเหล็กและใช้ม่านพลาสติกแบบในห้องน้ำมากัน ในส่วน
ของความสูงถ้าสามารถทำให้ชิดกับเพดานได้ก็จะยิ่งดี
หรือถ้าไม่ได้
จริง ๆ ต้องหาส่วนที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้มากั้นไว้ 3.ในโซนสีแดง , เอาของที่ไม่จำเป็นทุกอย่างออกไปให้หมด โดย
ให้เหลือเฉพาะสิ่งที่จำเป็น ได้แก่ เตียง ที่นอนของผู้ป่วย โต๊ะเก้าอี้สำหรับรับประทานอาหารหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ถังขยะสำหรับใส่ขยะ
ติดเชื้อ พัดลมที่ระบายเชื้อโรคให้ไปทางช่องทางออกของลม โดยไม่ให้ผ่านคนที่ไม่ได้ป่วย จัดพื้นที่ให้ผู้ป่วยอยู่ใต้ลมเสมอ หรือปิดทางลมธรรมชาติเพื่อไม่ให้เชื้อกระจายเข้ามาสู่พื้นที่สะอาด
4.การใช้ห้องน้ำ อาจใช้วิธีจัดเวลาในการเข้า เช่น ผู้ป่วยต้องเข้าเป็นคนสุดท้าย และคนที่ไม่ป่วยก็ต้องพยายามใช้ห้องน้ำให้น้อยที่สุด และจัดพื้นที่ผู้ป่วยติดเชื้อให้ใกล้กับห้องน้ำที่สุด 5. แยกการใช้อุปกรณ์ร่วมกัน และหากมีห้องนอนแยก ก็ให้ผู้ป่วย
อยู่ในห้องนอน
6. หากจำเป็นต้องมาใกล้ชิดกัน ให้สวมหน้ากากอนามัยอย่าง
เคร่งครัด และ ใช้เวลาน้อยที่สุดภายหลังการกักตัวครบ 10 วัน แนะนำให้ ทำความสะอาดพื้นที่บริเวณแยกกักตัว ดังนี้
1.สวมอุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เช่น ถุงมือ ผ้ากันเปื้อน ก่อทำความ
สะอาด 2.เปิดประตูหน้าต่างเพื่อระบายอากาศขณะทำความสะอาด 3.เตรียมน้ำยาฆ่าเชื้อตามคำแนะนำ ( ภาคผนวก )
4.เช็ดถูพื้นจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง
5.เช็ดทำความสะอาดจุดสัมผัสร่วมต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู สวิตช์ไฟ
ก๊อกน้ำ รีโมทคอโทร
6.ราดน้ำยาฟอกขาวทิ้งไว้อย่างน้อย 1 5 นาที สำหรับห้องน้ำและห้องส้วม
7.ซักเสื้อผ้า ผ้าปูที่นอน ฯลฯ ด้วยน้ำอุ่นและผงซักฟอก หากมีเครื่อง
ซักผ้าให้ซักด้วยผงซักฟอกหรือน้ำยาซักผ้า ในน้ำอุณหภูมิ 60 – 90องศาเซลเชียส อย่างน้อย 25 นาที และนำไปตากแดดให้แห้ง 8.หลังทำความสะอาดเสร็จ ให้อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด คำแนะนำสำหรับสมาชิกในคอนโด หรือ หอพัก
1. ตรวจสอบความเสี่ยงของตัวเองจาก TIMELINE ตามประกาศของนิติบุคล
2. สังเกตุอาการตัวเอง หากพบว่ามีความเสี่ยง ให้ตรวจคัดกรองด้วย ATK เบื้องต้น หากได้ผลบวก ให้ดำเนินการตามคำ
แนะนำกรณีเป็นผู้ติดเชื้อ 3.ปฏิบัติตามข้อตกลงของคอนโด และให้ความช่วยเหลือ
สมาชิกตามสมควร
4. ปฏิบัติตัวใช้ชีวิตตามแนวทางUP-DMHTT
คำแนะนำในการใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีประสิทธิภาพใน
แอลกอฮอล์ 70%
น้ำยาทำความสะอาด ที่มีโซเดียมไฮโปคลอไรด์ 3% ผสมน้ำยา
ทำความสะอาด 40 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร
น้ำยาทำความสะอาด ที่มีโซเดียมไฮ โปคลอไรด์ 6% ผสมน้ำยา
ทำความสะอาด 20 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร
ㆍ น้ำยาที่มีใฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3% ผสมน้ำยา 200 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร
น้ำยาที่มีไฮ โดรเจนเปอร์ออกไซด์ 5% ผสมน้ำยา 1 25 มิลลิลิตร
ต่อน้ำ 1 ลิตร
คำแนะนำการกำจัดขยะติดเชื้อ
จัดเก็บขยะติดเชื้อ ตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ถุง ใบแรกที่บรรจุมูลฝอยติดเชื้อแล้ว ให้ราดด้วยสารฆ่าเชื้อหรือน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ จากนั้นมัดปากถุงให้
แน่นแล้วฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากไฮเตอร์ผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ซ้อนด้วยถุงขยะอีก 1 ชั้น มัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อบริเวณปากถุงอีกครั้ง
ㆍ ประสานและนำส่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ นำไปกำจัดเป็นมูลฝอยทั่วไป ทั้งนี้ ภายหลังจัดการมูลฝอยติดเชื้อแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันทีมาตรการ UP-DMHTA
-UP : Universal Prevention : การป้องกันส่วนบุคคลโดยคิดเสมอว่า ทุกคนมีความเสี่ยงติดเชื้อ-D : Distancing การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล อย่างน้อย
1 – 2 เมตร หรือจัดให้มี ฉากกั้นขณะปฏิบัติงาน-M : Mask wearing จัดหาหน้ากากอนามัยให้เพียงพอ และให้
ผู้ปฏิบัติงานสวมหน้ากาก อนามัยตลอดเวลาปฏิบัติงาน
-H: Hand washing มีจุดล้างมือที่เพียงพอ และผู้ปฏิบัติงาน
ล้างมือบ่อย ๆ อย่างถูกวิธี-T: Temperature ,Testing ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนเข้า
ทำงาน และมีการตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีมีผู้ปฏิบัติงานที่มีอาการป่วยมีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ หรือ
เดินกลับมาจากพื้นที่เสี่ยง-A : Application ติดตั้งและใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” และ
“ไทยเซฟไทย” ก่อนเข้า – ออก สถานที่ทุกครั้ง เพื่อติดตาม
ประวัติการเดินทางและความเสี่ยง ของผู้ปฏิบัติงาน
****************
กฤษฎา สมมาตร
รายงานจากสระบุรี